เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เศษแก้วยังมีคม เศษคารมยังบาดจัย เศษเหล็กยังขายได้ เศษหัวจัยคัยจะเอา

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ฤดูกาลของไทย




ฤดูกาลในประเทศไทย

1. ฤดูหนาว
เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาสู่ไทย ระยะเวลาประมาณ สี่เดือน อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่สูง จะมีอากาศหนาวกว่าภาคอื่นๆ ช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

2.ฤดูร้อน
เป็นช่วงที่ลมมรสุมกระแสลมทะเลจีนใต้พัดเข้ามา สู่ประเทศไทยจากทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะเวลาประมาณ สามเดือน ในระยะนี้ดวงอาทิตย์ได้โคจรส่องแสงมาตั้งฉากกับประเทศพอดี ทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะอุณหภูมิสูงสุดของปี ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

3.ฤดูฝน
เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกพัดเข้ามาสู่ประเทศไทย ระยะเวลาประมาณ 5 เดือนอากาศโดยทั่วไปจะชุ่มชื้น และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศ โดยฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม-กันยายน
หน้าฝนจะอยุ่ในช่วงเดือน มิถุนายนถึงตุลาคม


สัญญาณหรือสาเหตุที่ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง

1.กระแสลมและฝน
กระแสลม คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา เพราะในบริเวณต่างๆมีความกดอากาศไม่เท่ากัน กล่าวคือถ้าบริเวณใดได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มาก อากาศบริเวณนั้นก็จะร้อนมีความกดอากาศต่ำและขยายตัวลอยสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งมีความกดอากาศสูงกว่าและมีอุณหภูมิต่ำกว่าก็เคลื่อนเข้ามาแทนที่ เราจึงเรียกอากาศที่เคลื่อนที่นี้เรียกว่ากระแสลม
ฝน เกิดจากการเคลื่อนที่ของลมจากที่ที่มีความกดอากาศต่ำกว่าและถ้ากระแสลมเคลื่อนที่ผ่านทะเลหรือมหาสุมทร ก็จะหอบเอาความชื้นและละอองน้ำไปเมื่อมากระทบกับความเย็นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ตกลงมาเป็นฝน

2.ความกดอากาศ
เนื่องจาก พื้นโลกแต่ละแห่งมีค่าความกดอากาศไม่เท่ากัน รวมทั้งความกดอากาศก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอกเวลาขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศนี้ จะส่งผลต่อสภาพอากาศ ทำให้อากาศมักจะแปรปรวนในบริเวณที่กดอากาศต่ำ เช่น เกิดลมพายุ มีฝนตกหนัก และอากาศค่อนข้างเย็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เช่น ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆฝน ส่วนเครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์ และบารอกราฟ

3)อุณหภูมิ
คือ ระดับความหนาว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่นกลางวัน อุณหภูมิ จะสูงกว่าเวลากลางคืน เพราะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้กลางวันมีอากาศร้อน นอกจากนี้อุณหภูมิเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ได้แก่ ลม พายุ หมอก น้ำค้าง เมฆ

4) ความชื้น
ความชื้น คือ ปริมาณไอน้ำในอากาศ หรือความสามารถของอากาศที่จะรับไอน้ำเอาไว้ได้ ซึ่งความชื้นนี้จะเปลี่ยนไปตามวัน เวลา และสถานที่

ความชื่นในอากาศ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของเรา เช่น วันที่อากาศชื้น เราจะรู้สึกเหนียวตัวและอึดอัด เพราะมีอากาศมีความชื้นมากทำให้รับปริมาณไอน้ำได้น้อย เหงื่อของเราก็ระเหยได้น้อย แต่ถ้าวันที่อากาศแห้ง เราจะรู้สึกเย็นจนบางครั้งทำให้ผิวหนังแห้งและแตกเนื่องจากเหงื่อของเราระเหยได้มาก เครื่องวัดความชื้นในอากาศ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์(Hygrometer) ที่นิยมใช้คือแบบกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง

ลมต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ลม คือ มวลอากาศที่เคลื่อนที่ โดยมวลอากาศนี้จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเสมอ
ประเภทของลมมี 3 ประเภท คือ

1. ลมประจำเวลา
ลมบก เกิดเวลากลางคืน ลักษณะการเกิด เป็นลมที่พัดจากฝั่งสู่ทะเล เนื่องจากพื้นดินคลายความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ ทำให้อุณหภูมิของอากาศเหนือผิวน้ำสูงกว่าพื้นดิน มวลอากศจึงเคลื่อนจากฝั่งสู่ทะเล
ลมทะเล เกิดในเวลากลางวัน ลักษณะการเกิด เป็นลมที่พัดจากทะเลสู่ฝั่ง เนื่องจากพื้นดินรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เร็วกว่าน้ำทำให้อุณหภูมิของอากาศเกหนือพื้นดินสูงกว่าพื้นน้ำมวลอากาศเย็นจากทะเลจึงเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง

2.ลมประจำฤดู
ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมมรสุมฤดูร้อน พัดจากมหาสุมทรอินเดียขึ้นสู่ทวีปเอเชีย โดยพัดผ่านประเทศไทยช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งขณะที่ลมมรสุมนี้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย ก็นำไอน้ำหรือความชื้นจากบริเวณนั้นมาสู่บริเวณที่พัดผ่าน ทำให้มีฝนตก
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือลมมรสุมฤดูหนาวพัดจากประเทศจีนลงมาจนถึงบริเวณอ่าวไทยตอนใต้ โดยจะพัดในราวเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งบริเวณประเทศจีนจะมีอากาศเย็นมากทำให้ลมมรสุมนี้พัดเอาอากาศเย็นมาด้วย เมื่อพัดผ่านบริเวณใดบริเวณนั้นจะมีอากาศหนาวเย็นมาก

3.ลมประจำถิ่น
ลมตะเภา เป็นลมที่พัดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างสูงทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำส่วนบริเวณอ่าวไทยอากาศจะเย็นกว่า มีลักษณะเป็นหย่อมความกดอากาศสูง จึงทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่จากอ่าวไทยเข้าสู่ดิน ถึงแม้ลมที่พัดมานี้จะมีความแรงไม่มาก แต่ก็ช่วยบรรเทาความร้อนในอากาศในช่วงฤดูร้อนไปได้บ้าง ในสมัยก่อนพ่อค้าเรือสำเภาได้อาศัยลมตะเภาแล่นใบพาเรือมาเข้าสู่ปากอ่าวไทยได้สะดวก จึงขนามนามเรียกนี้ว่า ลมตะเภา
ลมว่าว เป็นลมที่พัดลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำชั่วคราวขึ้นในแถบอ่าวไทย ทำให้มวลอากาศจากพื้นดินเคลื่อนออกสู่ทะเล ลมว่าว ถือเป็นลมเย็นเวลาที่พัดผ่านมาจึงทำให้อุณภูมิของอากาศต่ำลง ลมว่าว จะพัดในช่วงที่ข้าวเบา กำลังออกรวงจึงเรียกลมนี้อีกอย่างว่า ลมข้าวเบา


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
มูลนิธิคณะลูกเสือแห่งชาติ. ลูกเสือ - เนตรนารี ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น